2552/11/09

Balancing on the Machine


1. การทรงตัวเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยการผสมผสานระหว่างคนกับรถประการแรกคือ ห้ามยืนในตำแหน่งที่ขาแนบชิดกับ frame มากเกินไป มันจะทำให้ยากต่อการทรงตัวของคุณอย่างถูกต้อง ควรจะให้มีช่องว่างที่จะเคลื่อนไหวควบคุมรถระหว่างขาทั้งสองข้างของคุณได้สะดวก
2. หักหมุน handlebar ไปที่ตำแหน่งล๊อคเต็มที่ ซ้ายหรือขวาสุดก็ได้แล้วแต่คุณถนัด
3. เกี่ยวเบรกมือและเบรกเท้าเสมอ
4. เกียร์และครัตซ์อยู่ในตำแหน่งพร้อมทำงาน
5. พยายามรักษาความผ่อนคลาย ความตึงเครียดจะทำให้ยากและต้องใช้สติปัญญาและกำลังมากขึ้น
6. ใช้ bar pressure และ peg weighting รวมถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ถูกต้องเพื่อไม่ให้เสียสมดุล
การเริ่มฝึกฝนให้เป็นเร็วขึ้นมีหลายวิธีแล้วแต่บุคคล
วิธีที่ 1 (ฝึกคนเดียว ดับเครื่อง)
1 ให้เอารถมอเตอร์ไซด์ไปจอดคู่ขนานกำแพงหรือผนัง และให้แฮนด์พิงกำแพงโดยให้รถตั้งตรงไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง
2 ขึ้นไปยืนทรงตัวบนรถ (ขั้นนี้ง่ายมาก) โดยใช้เท้าทั้งสองเหยียบ peg หรือแป้นเท้า และเอามือจับแฮนด์พอหลวมๆ เอาไว้พร้อมที่จะขยับหรือถ่ายน้ำหนักของร่างกายเพื่อเอียงรถไปทางซ้ายหรือขวา
3 ลองถ่ายน้ำหนักและทรงตัวเพื่อให้ปลายแฮนด์ที่พิงไว้กับกำแพงข้างหนึ่งเป็นอิสระหรือห่างจากกำแพง
4 พยายามรักษาสมดุลยืนเองให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะพยายามกี่ครั้งก็ได้ (แต่คงไม่ใช่ครั้งเดียง ซึ่งอาจ 10 20 หรือ 30ครั้ง)
วิธีที่ 2 (มีเพื่อนช่วย ดับเครื่อง)
1 ให้คุณขึ้นไปยืนทรงตัวบนรถเลยโดยให้เพื่อนจับหรือประคองบังโคลนหรือ frame ข้างหลังเอาไว้แบบไม่ต้องล๊อคแน่นมาก
2 ปรับหรือหมุนแฮนด์ไปซ้ายสุดหรือขวาสุดตามที่คุณถนัด (ควรฝึกฝนทั้งสองข้าง) แล้วพยายามทรงตัวให้นิ่ง
3 ให้เพื่อนที่ช่วยประคองรถไว้ทางด้านหลังค่อยๆคลายมือแต่ยังช่วยประคองไว้ ในขณะนี้ให้คุณฝึกทรงตัวโดยขยับตัวหรือส่ายก้น เพื่อถ่ายน้ำหนักรักษาสมดุลของรถไปยังขาและเท้า และมือทั้งสองข้าง (โดยเน้นน้ำหนักไปที่ขาและเท้า ล้อหน้าจะเบาทำให้ขยับแฮนด์ได้ง่ายขึ้น) ลองดูนะครับ วิธีนี้จะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและเป็นเร็วที่สุดถ้าหากเพื่อนคุณมีเวลาพอ
4 ฝึกทบทวนด้วยวิธีที่ 1 หรือ 2 จนกว่าคุณจะเป็น
วิธีที่ 3 (ขับขี่จริง)
1. ให้คุณขับขี่ในสภาพปกติโดยขับขี่ให้ช้าด้วยเกียร์ 1 หรือเกียร์ 2 และช้าลงเรื่อยๆ จนรถหยุด
2. ฝึกเรื่องของการทรงตัวให้ถ่ายน้ำหนักลงบนขาหลัง และขยับหรือหมุนแฮนด์เพื่อให้รถทรงตัวได้ตามความจำเป็น
3. ถ้าหากรถจะเสียหลักล้มไปทางใด ให้คุณย่อตัวหรือหย่อนก้นให้ต่ำลงและถ่ายน้ำหนักไปยังฝั่งตรงข้ามหรือ ใช้เท้าตรงข้ามกับทิศที่จะล้มยื่นออกไปนอกแป้นเหยียบ (ให้ระวังหน้าของผู้ที่มายืนสังเกตการณ์ใกล้ๆ ด้วยครับ ทางที่ดีควรห่างจากคนหรือสิ่งของประมาณ 1.5 หรือ 2 เมตรขึ้นไป)
4. ข้อสำคัญคือสมาธิและจิตใจที่แน่วแน่ว่าจะเอาให้ได้ครับ จะทำให้ระยะเวลาเป็นเร็วขึ้นและต้องฝึกบ่อยๆ และเสมอหรือตลอดเวลาที่ยืนขับขี่บนรถครับ

2552/10/27

Hillclimb body position (สาธิตลักษณะการขี่ไต่เขา)

Hillclimb body position
A video of TTC instructor Alex Bedley on the Hillclimb body position.
สาธิตลักษณะการขี่ไต่เขา
วิดีโอสาธิตลักษณะการขี่ไต่เขา สาธิตโดย Mr.Alex Bedley (Trials Training Center) โดยสาธิตลักษณะการถ่ายเทน้ำหนักขณะขับขี่ในแต่อุปสรรค

2552/10/14

Footpeg position (สาธิตตำแหน่งการวางเท้า )

Footpeg position
A video of TTC instructor Alex Bedley on the 3 different places to position your feet on the footpegs. Recorded at the 2009 Trials Training Days.
สาธิตตำแหน่งการวางเท้า
วิดีโอสาธิตตำแหน่งการวางเท้า สาธิตโดย Mr.Alex Bedley (Trials Training Center) โดยลักษณะการวางเท้าที่แตกต่างกัน 3 ลักษณะ

2552/10/08

ที่มาของการก่อตั้ง “ชมรมมอเตอร์ไซค์ไต่เขา” ในประเทศไทย

บทความนี้จะกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการก่อตั้ง ชมรมมอเตอร์ไซค์ไต่เขาในประเทศไทย ซึ่งเนื้อหาบางส่วนผู้เขียนคัดลอกมาจากบทสนทนาในวารสาร ฮอนด้า นิวส์ ซึ่งได้สนทนาพูดคุยถึงการก่อตั้งชมรมมอเตอร์ไซค์ไต่เขาโดยมี อาจารย์มนู ภู่พานิชเจริญกูล ประธานชมรมฯ และคุณจิตพงศ์ เกื้อวงศ์ ผู้จัดการชมรมฯ ถ้าพูดถึง มอเตอร์ไซค์ไต่ถัง อาจเป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะคนไทยรู้จักกันมากกว่า 50 ปีแล้ว แต่ถ้าจะพูดถึงเรื่อง มอเตอร์ไซค์ไต่เขาคนส่วนใหญ่ยังข้องใจมองภาพไม่ออกว่ามันเป็นอย่างไร และถ้าบอกต่อไปว่าบุคคลในชมรมทั้ง 34 คน ใช้รถฮอนด้า ทั้งหมดเป็นพาหนะปีนเขาท่านอาจสงสัยต่อไปว่าทำไมต้องเป็นฮอนด้า
เพื่อความกระจ่างในเรื่องนี้คณะผู้จัดทำวารสารจึงขึ้นไปพบแกนกลางของกลุ่มชายฉกรรจ์ ที่เรียกตัวเองว่า นอร์นเธิร์น ไทรอัล คลับ คือ อาจารย์มนู ภู่พานิชเจริญกูล ประธานชมรมฯ ซึ่งเป็นอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคุณจิตพงศ์ เกื้อวงศ์ ผู้จัดการชมรมฯ เจ้าของกิจการห้องอาหารพิมพ์เฮาส์ พร้อมกับสมาชิกในชมรมที่เชียงใหม่
ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2528 บนดอยปุย ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,660 เมตร ผู้ก่อตั้งมีอยู่ด้วยกัน 9 คน สมาชิกมีรถจักรยายนต์ประเภทไทรอัล (ไต่เขา) ยี่ห้อฮอนด้า ทั้งสิ้น
แรก ๆ ทีเดียวพวกเราเป็นพวกที่ชอบไปเที่ยวตามดอยในวันหยุด เมื่อมีเพื่อนร่วมขบวนกันมากขึ้นก็มาตกลงกันว่าเราควรจะตั้งเป็นชมรมเพื่อให้มีระเบียบข้อบังคับสำหรับเป็นแนวทางปฎิบัติ และ เพื่อให้คนทั่วไปได้รับรู้พวกเราไม่ใช่แก๊งที่ทำตัวเป็นภัยต่อสังคม อาจารย์มนู เล่าให้ชาวคณะของเราฟัง ต่อมาพวกเราก็โชคดีที่มีนักแข่งไทรอัลจากอังกฤษ คือ มร.ไมเคิล แจคสัน มาเข้าเป็นสมาชิกซึ่งเราได้อาศัยคำแนะนำการขับขี่ กติกาสากลและข่าวสารทางยุโรปจาก มร.ไมเคิล เป็นอย่างมากเป้าหมายจริงๆของชมรมคืออะไร ?
นอกจากให้สมาชิกชมรมฝึกซ้อมออกกำลังกายเพื่อพลานามัยทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว ทางชมรมต้องการจะเน้นให้กีฬาไต่เขาเป็นที่รู้จักแพร่หลาย สามารถยกระดับความนิยมให้เสมอด้วยกีฬาแข่งรถประเภทอื่นๆ
ชมรมจะฝึกการขับขี่และแข่งขันกันเองภายในกลุ่มเป็นประจำทุกวันอาทิตย์โดยนัดพบกันที่เชิงดอยสุเทพ เวลาประมาณ 10.00 น. พวกเขาจะสนุกกันจนถึงเย็นจึงจะทะยอยกันกลับ
สมาชิกในชมรมทุกคนเป็นผู้ประกอบอาชีพที่มีหลักฐานมั่นคง มีเกียรติในสังคมและมีทุนทรัพย์ตาทสมควรที่จะจัดหารถ ชุดกีฬาที่ป้องกันอันตราย ทุกคนจะรักษาระเบียบของชมรมอย่างเคร่งครัด
เราจะไม่นำความเดือดร้อนรำคาญให้กับสังคมเด็ดขาด เวลาขี่รถไทรอัลเราจะชิดซ้าย ไปช้าๆ ตามกันเป็นแถวไม่แซงกัน รถของพวกเราเป็นรถ 4 จังหวะเสียงเครื่องยนต์เบามาก รถไทรอัลแล่นได้เร็วไม่เกิน 50 กม./ชม. สถานที่เล่นของเราก็อยู่ตามป่าตามเขาไม่รบกวนใครคุณจิตพงศ์เล่าให้ฟังถึงทัศนะที่มีต่อสังคม
แล้วทำไมถึงเจาะฮอนด้า?
ตามความคิดของผมนะ รถฮอนด้านี่มันแรงดี ให้แรงบิดสูงรอบต่ำ เวลาขึ้นดอยนี่ดีมากยกตัวอย่างเช่น รถผู้หญิงนี่แค่ 50 ซีซี ยังสามารถขึ้นดอยได้ อีกอย่างหนึ่งรถฮอนด้านี่รู้สึกจะประหยัด เครื่องยนต์เชื่อถือได้ แล้วมันก็สะดวกหลายอย่างพวกเราถึงใช้กันเรื่อยมาอาจารย์มนูบอกกับพวกเรา และเล่าต่อถึงการหารถหาอะไหล่มาใช้ว่า ทางฮอนด้าไม่ได้สั่งรถประเภททีแอลเข้ามาจำหน่าย พวกเราต้องพยายามสรรหามาเอง โชคดีที่ผมมีทีแอลเก่าๆอยู่คันจึงใช้เป็นต้นแบบสำหรับนำเอารถรุ่นเอกซ์แอล, เอสแอล มาดัดแปลง อันไหนมันหนักและไม่จำเป็นก็ตัดทิ้งไป ท้องมันเตี้ยเราก็ยกให้สูง อานมันสูงก็ลดให้มันต่ำ เครื่องยนต์ก็หาซื้อเอาตามเซียงกง จุดสำคัญคือทำให้รถเบา ท้องรถสูง อานต่ำ ส่วนเครื่องยนต์นี้ไม่ได้ทำไม่ได้ดัดแปลงอะไรเลย ของเขาแรงดีอยู่แล้ว จะเปลี่ยนเฉพาะนมหนูให้ใหญ่ขึ้น เพราะเวลาอยู่ยอดเขาอากาศบางรถติดยาก เร่งไม่ขึ้น แต่ส่วนอื่นของเครื่องยนต์ไม่แตะต้องเลย
เรื่องการทดกำลังเฟืองโซ่ตัวท้าย(สเตอร์หลัง) จะคงมีอย่างเครื่องยนต์ 125 ซีซีจะใช้ 52 ฟัน โซ่เล็กเบอร์ 428 สเตอร์หน้าจะล็อคใช้ระหว่าง12-13-14 ฟัน แล้วแต่ขนาดไหนผู้ขับขี่จะเห็นว่าเหมาะกับตนเองมากที่สุด ส่วนเครื่องยนต์ขนาด 200 ซีซีสเตอร์หลัง 44 ฟันสเตอร์หน้าต้องเลือกใช้ระหว่าง
9-12 ฟันอย่างนี้เป็นต้น เครื่องยนต์และอะไหล่ของรถไทรอัลค่อนข้างจะหายาก แม้แต่ยางที่ใช้ก็ต้องสั่งเป็นพิเศษ จะใช้ยางของรถวิบาก(โมโตครอส) ก็ไม่ได้ แต่ถึงจะลำบากอยู่ยากอย่างไรทางชมรมก็พยายามแสวงหามาใช้และแบ่งปันให้เพื่อนฝูงใช้กันจนได้
ด้านความสามารถของนักขี่ไต่เขาไทยนั้น ใครเห็นก็ต้องทึ่งคนกลุ่มนี้เขามีความสามารถพิเศษจริงๆ การปีนหน้าผาชันมากๆ เขากระทำกันได้อย่างคล่องแคล่วแม่นยำและปลอดภัย ไม่เคยมีสมาชิกคนใดได้รับอุบัติเหตุรุนแรงเลยตั้งแต่เริ่มเล่นกันมาอย่างมากก็มีแค่เคล็ดยอกเล็กๆน้อยๆ
สมาชิกของเราหลายคนอยู่ในภาคอื่นๆ เช่น สงขลา โคราช เวลามาเชียงใหม่ก็มาแต่ตัวทางสมาชิกของเราทางนี้ก็ให้รถใช้
เราได้รับคำบอกเล่าว่าการขี่รถปีนเขานี่ถ้าไปได้เรื่อย ๆ จะไม่เหนื่อยเหมือนกับเดินขึ้นทางลาด แต่ถ้าล้มต้องยกรถ ต้องสตาร์ทเครื่องก็เหนื่อยแน่ สำหรับการฝึกสอนนั้นรุ่นพี่จะคอยสอนให้คำแนะนำ ชนิดประกบกันตัวต่อตัว การเล่นที่สนุกต้องฤดูฝนโดยเฉพาะขณะฝนตก ขี่ทวนสายน้ำที่ไหลลงมาจากยอดเขาจะได้ความมันและไปได้เร็วกว่าการลุยลำธารที่มักจะมีตะไคร้น้ำตามหินที่จะทำให้ลื่นยางรถตะกุยไม่ได้
แต่ว่าในปัจจุบันกีฬามอเตอร์ไซค์ไต่เขาเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และหลาย ๆ จังหวัดก็มีการนำเอามอเตอร์ไซค์ไต่เขาไปฝึกซ้อมฝึกเล่นกันมากขึ้นและก็มีชมรมมอเตอร์ไซค์ไต่เขาเกิดขึ้นอีกหลายชมรมเท่าที่ผู้เขียนทราบปัจจุบันก็มี นอร์ทเธิร์น ไทรอัล คลับ (NTC), ชมรมมอเตอร์ไซค์ไต่เขาแม่จอก,ชมรมมอเตอร์ไซค์ไต่เขาพะเยา, TRIAL OK(อยู่ภาคกลาง), ชมรมมอเตอร์ไซค์ไต่เขาป่าลาน-กาดแม่เหียะ ก็จะพบปะกันทุกวันอาทิตย์เพื่อท่องเที่ยวและฝึกซ้อมกันไป ผู้เขียนก็ได้มีโอกาสสัมผัสกีฬามอเตอร์ไซค์ไต่เขากับเขาบ้างหลังจากที่ได้หลงไหลมานานหลายปีแล้ว และอยากเป็นส่วนหนึ่งที่จะได้เผยแพร่และยกระดับกีฬามอเตอร์ไซค์ไต่เขาในประเทศไทย ช่วงเวลาหลาย ๆ ปีที่ผ่านมีการจัดแข่งขันกันขึ้นแบ่งรุ่นการแข่งขันเป็นรุ่นเกรด A, รุ่นเกรด B, รุ่นเกรด C จะมีการสะสมคะแนนเพื่อหาแชมป์ประเทศไทย หากผู้อ่านท่านใดสนใจกีฬามอเตอร์ไซค์ไต่เขาเชิญสอบทราบข้อมูลกับแต่ละชมรมที่ท่านสะดวก อาจจะหาข้อมูลทางเว็บไซต์ก็ได้

นอร์ทเธิร์น ไทรอัล คลับ (NTC)

ชมรมมอเตอร์ไซค์ไต่เขาแม่จอก

ชมรมมอเตอร์ไซค์ไต่เขาป่าลาน-กาดแม่เหียะ

ชมรมมอเตอร์ไซค์ไต่เขาพะเยา

TRIALS OK CLUB